โซ่อุปทานหมุนเวียนอาหารเพื่อลดการสูญเสียขยะอาหารในจังหวัดเชียงราย
จากการวิจัยเรื่อง การพัฒนาโซ่อุปทานหมุนเวียนอาหารเพื่อลดการสูญเสียขยะอาหารในจังหวัดเชียงรายเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้แนวคิดของโซ่อุปทานอาหารนั้น มีกรอบแนวคิดในการศึกษาดังนี้
ภาพที่ 1 เศรษฐกิจแบบเส้นตรง เศรษฐกิจหมุนเวียน และโซ่อุปทานอาหาร
เมื่อพิจารณาจากภาพที่ 1 จะเห็นว่าขยะอาหารจะเกิดจำนวนมากในช่วงกลางน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งจากการใช้ซ้ำ ใช้ใหม่ ใช้เป็นวัตถุดิบ และการเพิ่มคุณค่าใหม่เข้าไปได้ โดยผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปริมาณขยะอาหารในจังหวัดเชียงรายจากชุมชนเกษตรกร หรือมีปริมาณน้อยจนถึงไม่มีเลย เพราะสามารถนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้เกือบทั้งหมด แต่จะมีปัญหาเหลือขยะจากอาหารจำนวนมากจากชุมชนเมือง เนื่องจากไม่มีพื้นที่ในการจัดการขยะ จึงต้องนำขยะเหล่านั้นไปทิ้งรวมกับขยะอื่น ๆ ซึ่งผลการศึกษายังพบอีกว่า ส่วนใหญ่ไม่แยกขยะอาหารออกจากขยะอื่น ๆ จะใช้การทิ้งรวมกัน เพราะเห็นว่าแม้จะแยกแล้วคนเก็บขยะก็จะนำไปรวมกันอยู่ดี จึงเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องกัน ก่อให้เกิดปัญหาขยะอาหารที่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์จำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังพบว่าหากมีโครงการนำอาหารที่เหลือจากการขาย มาขายต่อในราคาที่ลดลง ทางร้านค้าที่ให้ข้อมูลทั้งหมด ยินดีให้ความร่วมมือ และผลจากการศึกษาในส่วนของผู้บริโภคก็มีความสนใจจะซื้ออาหารจากโครงการเช่นนี้ ซึ่งควรมีหน่วยงานกลางประสาน รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
จากข้อมูลเหล่านี้ คณะผู้วิจัยจึงได้หาแนวทางเพื่อช่วยลดขยะอาหารของจังหวัดเชียงราย โดยการร่างข้อเสนอต้นแบบของการบริหารจัดการเพื่อลดขยะอาหารไว้ดังนี้
ขยะอาหารที่เหลือจากการรับประทานของประชาชน
- การกำจัดขยะด้วยหนอนแม่โจ้ (Maejo Maggots) ซึ่งเป็นหนอนแมลงวันลายชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า หนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly: BSF) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hermetia ilucens วงศ์ Strationmyidae สกุล Diptera จัดอยู่ในอันดับชั้นเดียวกับแมลงวันบ้าน แต่ต่างตระกูล และมีข้อแตกต่างจากแมลงวันบ้านคือ
จากตารางที่ 1 จะเห็นว่าหนอนแม่โจ้ มีไม่ได้รบกวน หรือสร้างอันตรายใด ๆ ให้กับมนุษย์และสัตว์เลย แต่จากคุณสมบัติที่เห็น จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างมาก โดยหนอนแม่โจ้ เป็นผลจากการศึกษาวิจัยของ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยพบว่า แมลงดังกล่าวเป็นตัวเต็มวัยของแมลงวันลายชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนของแมลงนี้ช่วยจัดการขยะอินทรีย์ได้ด้วย ชื่อเรียกเป็นที่รู้จักกันว่า หนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly: BSF) ธรรมชาติของแมลงชนิดนี้ จะวางไข่บนเศษผัก ผลไม้ หรือในถังน้ำหมักที่มีกลิ่นเปรี้ยวอยู่แล้ว เมื่อไข่เจริญเติบโตเป็นหนอน ขยะอินทรีย์ต่างๆ จึงเป็นอาหารชั้นเลิศของหนอนแม่โจ้ ซึ่งหนอนแม่โจ้กินอาหารได้เร็วกว่าไส้เดือนดินถึง 5 เท่า อาหารที่กินเข้าไปจะเปลี่ยนเป็นไขมันประมาณ 30% โปรตีนประมาณ 40% มีโอเมก้า 3, 6 และ 9 ปริมาณสูง และยังมีกรดลอริกที่ยับยั้งเชื้อก่อโรคต่างๆ
สามารถสรุปประโยชน์ของหนอนแม่โจ้ได้ว่า ในวงจรชีวิตของหนอนแม่โจ้ ในช่วงที่เป็นตัวหนอนจะนำมาใช้เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ ซึ่งก็คือขยะอาหาร โดยหนอนแม่โจ้สามารถย่อยขยะได้เร็วกว่าไส้เดือนดินถึง 5 เท่า โดยมูลลที่ได้จากการกกินขยะจะออกมาเป็นปุ๋ยขี้หนอน ซึ่งให้คุณประโยชน์ในการเอาไปบำรุงต้นไม้ได้ เพราะมีแร่ธาตุสูง จากการกินผักผลไม้
เมื่อเป็นตัวดักแด้ และออกเป็นพ่อแม่แมลงแล้วจะมีเปลือกดักแด้เหลือทิ้งไว้ ก็สามารถเอาไปเป็นทำปุ๋ยเป็นปุ๋ยได้อีก เพราะตัวของเปลือกมีแคลเซียมสูง เมื่อออกไปเป็นแมลงแล้วตายก็นำไปเลี้ยงสัตว์ได้อีก ทำให้วงจรชีวิตของหนอนแม่โจ้ ใช้ประโยชน์ได้ครบ 100% นอกจากนี้ ในแต่ละช่วงของวงจรชีวิตก็สามารถสร้างมูลค่าได้ เช่น ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ ในขณะที่เป็นไข่ก็สามารถขายได้ประมาณกิโลกรัมละ 20,000 บาท ถ้าเอาไข่มาเลี้ยงขยายต่อตัวหนอนก็สามารถจำหน่ายได้ ทั้งเป็นหนอนสด หรืออบแห้ง หรือทำเป็นผงเพื่อเข้าสู่โรงงานอาหารสัตว์ในระบบอุตสาหกรรมได้ และตัวดักแด้ก็สามารถขายได้เช่นเดียวกัน โดยมีมูลค่าค่อนข้างสูงกว่าเพราะว่าสามารถอยู่ในช่วงวัยที่ไปขยายพันธุ์ได้ ในราคาประมาณกิโลละ 400-450
ภาพที่ 2 หนอนแม่โจ้
ที่มา : https://www.nstda.or.th/agritec/maejo-maggots/
ปัจจุบัน รศ.ดร.อานัฐ ตันโช และทีมวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่ ได้ถ่ายทอดเทคนิคการผลิตหนอนแม่โจ้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการตอบรับอย่างดีจากเกษตรกร/ผู้สนใจเพาะเลี้ยงและจำหน่ายหนอนแม่โจ้ ซึ่งราคาจำหน่ายหนอนแม่โจ้อยู่ที่ประมาณ 400-1,000 บาท/กิโลกรัม
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับขยะอาหารคือ หนอนแม่โจ้จะจัดการขยะอินทรีย์ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าไส้เดือนดิน 5 เท่า และสามารถนำไปเป็นอาหารโปรตีนคุณภาพสูงสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ ปลาได้เป็นอย่างดี หรือการใช้มูลหนอนแม่โจ้ปลูกพืชและบำรุงดิน ทั้งยังช่วยควบคุมแมลงวันบ้านได้อีกด้วย
จากที่กล่าวมา หากมีการส่งเสริมให้เกษตรกรรายใหญ่ หรือตลาดขนาดใหญ่ใช้หนอนแม่โจ้ มาช่วยกำจัดขยะอาหาร นอกจากจะช่วยกำจัดขยะอาหารได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังได้ประโยชน์จากมูลค่าในช่วงต่าง ๆ ของวงจรชีวิตของหนอนแม่โจ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตร ซึ่งจะสร้างมูลค่าได้เป็นอย่างมาก
ดังนั้น การหาแหล่งเกษตรกรเบื้องต้นที่จะเลี้ยงหนอนแม่โจ้ เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นก่อน เพื่อจะสามารถนำส่วนอื่น ๆ มาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์ในการกำจัดขยะอาหารได้ตลอดโซ่อุปทาน
- ปัญหาในการแยกขยะอาหารออกจากขยะประเภทอื่น ๆ ของชุมชนเมือง ส่วนมากเกิดจากการเก็บขยะของรถเก็บขยะของหน่วยงานที่จะนำขยะไปรวมกันทุกประเภท การแยกขยะของครัวเรือนจึงไม่มีประโยชน์ใด ๆ ดังนั้น หากต้องการแก้ปัญหานี้ ควรมีการเก็บขยะอาหารโดยเฉพาะ ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การแยกรถเก็บระหว่างรถขยะทั่วไปและรถขยะอาหาร อาจเพิ่มวิธีการเก็บขยะแบบสลับวัน หรือจัดสรรวันเก็ยขยะอาหารสัปดาห์ละ 3-4 วัน เป็นต้น นอกจากนี้อาจใช้รถเก็บขยะอาหารเอกชนเข้ามาร่วมซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้ ครัวเรือนต้องให้ความร่วมมือในการแยกขยะอาหารด้วยเช่นกัน
ในการส่งเสริมครัวเรือนเพื่อแยกขยะอาหาร สามารถนำเทคโนโลยีถังขยะอัจฉริยะ (Intelligence Gaebage) ที่0tแจ้งเตือนเมื่อขยะมีปริมาณหนึ่งที่ควรจัดเก็บ แล้วส่งข้อมูลให้หน่วยงานจัดเก็บเจ้ามารับขยะอาหารเหล่านั้นตามรอบต่าง ๆ ก็ได้
ภาพที่ 3 ลักษณะของถังขยะอัจฉริยะของประเทศจีน
ที่มา : https://www.alamy.com/an-artificial-intelligence-ai-garbage-sorting-bin-is-displayed-at-zhangjiang-hi-tech-park-in-shanghai-china-17-august-2019-over-30-artificial-i-image329561000.html
ซึ่งในปัจจุบันมีต้นแบบของถังขยะอัจฉริยะประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก โดยใข้หลักการของ AI (Artificial Intelligence) และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine learning) มาเป็นหลักการในการประดิษฐ์ โดยในจังหวัดเชียงราย มีสถาบันการศึกษาจำนวนมาก ที่สามารถให้ความร่วมมือระหว่างกันและกันเพื่อออกแบบ และสร้างเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการได้
ในส่วนของรถเก็บขยะอาหาร หากมีแหล่งรับขยะอาหารที่เหมาะสม ตามที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 1 คือ แหล่งเกษตรกรรมที่ใช้หนอนแม่โจ้เพื่อกำจัดขยะอาหาร ก็สามารถนำไปส่งให้แหล่งดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นการนำขยะอาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด
นอกจากนี้ ในการเก็บขยะอาหารซึ่งมักมีปัญหาเรื่องเส้นทางการเดินรถ เนื่องจากบางเส้นทางในบางวันไม่มีขยะอาหาร หรือมีขยะอาหารจำนวนน้อย เกิดความไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายในการเดินรถ หากมการนำเทคโนโลยีถังขยะอัจฉริยะมาใช้ ร่วมกับการจัดเส้นทางเดินรถแบบพลวัต (Dynamics Transpiration Routing) โดยใช้กระบวนการจัดหาเส้นทางที่ประหยัดที่สุดตามหลักการทางด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์ก็จะช่วยให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยหารจัดเส้นทางลักษณะนี้สามารถทำได้โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงรายเช่นกัน เนื่องจากมีหลายสถาบันที่ทำการศึกษาในประเด็นนี้อยู่แล้ว อาจใช้เวลาในหารปรับเปลี่ยนตามความต้องการบ้าง แต่จะช่วยให้การทำงานด้านการจัดการขยะอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และสุดท้าย จากข้อที่ 1 เมื่อแหล่งเกษตรกรรมที่ใช้หนอนแม่โจ้ ได้รับขยะอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงหนอนแม่โจ้จำนวนมาก และได้ประโยชน์จากหนอนแม่โจ้ ก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่ม ซึ่งสามารถตัดส่วนจากผลประโยช์ที่ได้มาส่งคืนให้กับสังคม หรือประชาชนที่นำขยะอาหารส่งต่อได้ ซึ่งมีต้นแบบการปฏิบัติเป็นต้นแบบมาแล้ว เช่น ที่เกาะสีชังจะนำเศษอาหารไปให้ฟาร์มที่เลี้ยงหนอนแม่โจ้เพื่อแลกกับไข่ ตามผลการศึกษาของศศิศุภา บุญประเสริฐ (2565) ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะช่วยแก้ปัญหาขยะอาหารในชุมชนได้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ประชาชนเห็นว่าแม้แยกขยะอาหารแล้ว รถเก็บขยะก็นำไปรวมกันอยู่ดี และบางส่วนที่เห็นว่าการแยกขยะอาหารไม่ได้ผลอะไรตอบแทน นอกจากนี้ ยังเป็นการนำขยะอาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดำหรับเกษตรกรอีกด้วย ดั่งคำที่ว่า ปัจจุบันขยะคือทองคำหากนำมาใช้ให้เป็น นั่นเอง
ขยะอาหารที่เหลือจากการขายของร้านค้า โรงแรมต่าง ๆ
ในส่วนนี้ โรงแรมบางแห่งได้นำอาหารที่ยังมีคุณภาพไปบริจาคให้กับโรงเรียน วัด หรือสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการกำจัดขยะอาหารที่มีประโยชน์ แต่ในอีกด้าน สามารถสร้างมูลค่าจากอาหารเหลือจากการขายเหล่านี้ได้ โดยการนำมาขายลดราคาให้กับประชาชนที่ต้องการ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า ร้านอาหารยินดีที่จะนำอาหารที่เหลือจากการขายมาเข้าร่วมโครงการ ในขณะที่ประชาชนก็สนใจที่จะซื้ออาหารที่เหลือจากการขายเหล่านี้ ดังนั้น หากมีตัวกลางในการประสานความต้องการนี้ให้สอดคล้องกัน จะช่วยอำนวยประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่าย และช่วยลดขยะอาหารลงได้ ซึ่งคณะผู้วิจัยเห็นว่า การสร้างแออพพลิเคชั่นเพื่อเป็นตัวกลางสร้างสมดุลความต้องการจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด โดยการสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกทั้งร้านค้าและประชาชน มีแนวคิดดังนี้
ภาพที่ 4 แนวคิดของการสร้างแอพพลิเคชั่น
จากภาพที่ 4 แนวคิดของการสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อบริหารจัดการอาหารที่เหลือจากการขายให้ได้ประโยชน์มากที่สุด จะเริ่มจากการให้ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ซึ่งเป็นต้นทาง และประชาชน ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปลายทาง สมัครสมาชิกกับแอพพลิเคชั่น จากนั้นต้นทางจะนำอาหารที่เหลือจากการขายในแต่ละวัน หรือแต่ละช่วงเวลา มาเสนอขายในแอพพลิเคชั่น โดยผู้บริโภคปลายทางจะมาเลือกซื้อตามความต้องการ ซึ่งจะเป็นการจัดการขยะอาหารในส่วนที่เหลือจากการขายได้อย่างดี ดด้านปลายทาง นอกจากจะกำจัดอาหารเหลือจากการขายแล้ว ยังได้รับรายได้เพิ่มจากการขายอีกด้วย
ส่วนในด้านผู้บริโภคปลายทาง นอกจากจะได้รับอาหารที่ดีจากร้านค้า ร้านอาหาร หรือโรงแรมแล้ว ก็ยังได้รับส่วนลดจากการซื้ออาหารที่มีคุณภาพอีกด้วย จึงเป็นการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และเป็นการลดขยะอาหารได้อย่างดีอีกทางหนึ่ง
สรุป
จากแนวคิดทั้งสองประเด็นคือ ขยะอาหารที่เหลือจากการรับประทานของประชาชนและขยะอาหารที่เหลือจากการขายของร้านค้า โรงแรมต่าง ๆ เมื่อนำมาอธิบายการแก้ปัญหาขยะในโซ่อุปทานหมุนหวียนตามกรอบแนวคิดที่ได้นำเสนอตามภาพที่ 1 แล้ว จะสามารถอธิบายวิธีการการพัฒนาโซ่อุปทานหมุนเวียนอาหารเพื่อลดการสูญเสียขยะอาหารในจังหวัดเชียงราย ได้ดังภาพที่ 5 นี้
ภาพที่ 5 แนวคิดในการพัฒนาโซ่อุปทานหมุนเวียนอาหารเพื่อลดการสูญเสียขยะอาหารในจังหวัดเชียงราย
จากภาพที่ 5 จากข้อเสนอในการสร้างต้นแบบทั้งจากขยะอาหารที่เหลือจากการรับประทานของประชาชนและขยะอาหารที่เหลือจากการขายของร้านค้า โรงแรมต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จะสร้างกระบวนการกำจัดขยะอาหารได้อย่างครบวงจร โดยเป็นการนำชยะอาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสมบูรณ์ โดยมีขยะอาหารเหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสถาบันการศึกษา จะเป็นหัวใจในการพัฒนาโซ่อุปทานหมุนเวียนอาหารเพื่อลดการสูญเสียขยะอาหารในจังหวัดเชียงราย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างวงจรโซ่อุปทานด้วยวิธีเหล่านี้ ผู้ที่สำคัญที่สุดคือตัวกลางที่จะเป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ที่นอกจากจะร่วมมือกันหลาย ๆ หน่วยงานแล้ว ยังต้องมีความต้องการสร้างวงจรที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง